โรคไต

หากพูดถึงโรคไต หลายคนอาจเคยได้ยินว่า “เพราะทานเค็มมากเกินไป” แต่วันนี้ ถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย จะมาไขความกระจ่างว่า ไม่ใช่แค่อาหารที่มีรสเค็มเท่านั้นที่เป็นสาเหตุของโรคไต แต่ยังมีสาเหตุอื่นที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบ และเผลอทำร้ายไตของตัวเองไปโดยไม่รู้ตัว!

โรคไต เป็นชื่อที่เรียกรวมอาการ และ/หรือ ความผิดปกติที่เรียกว่า พยาธิสภาพ ที่เกิดขึ้นบริเวณไต ทำให้การรักษาความสมดุลของเกลือ และการทำงานของไตเพื่อขับของเสียออกจากร่างกาย รวมถึงน้ำในร่างกายของเราเกิดภาวะขัดข้อง ซึ่งโรคที่เกิดขึ้นกับไตมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ดังนี้

  • โรคไตวายเรื้อรัง ที่เกิดขึ้นตามหลังจากการเกิดโรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไตวายฉับพลัน
  • โรคถุงน้ำที่ไต
  • โรคไตอักเสบเนโฟรติก
  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน

สาเหตุของการเกิดโรคไต

  • ผู้ป่วยเป็นมาตั้งแต่กำเนิด เช่น ไตมีขนาดไม่เท่ากัน มีไตข้างเดียว หรือ หรืออาจเป็นโรคไตเป็นถุงน้ำ โดยโรคเหล่านี้สามารถสืบต่อกันได้ทางกรรมพันธุ์
  • เกิดเนื้องอกขึ้นที่ไต ซึ่งมีอยู่หลายชนิด
  • เกิดจากการอักเสบ เช่น โรคของกลุ่มเลือดฝอยในไตอักเสบ
  • เกิดจากการอุดตัน เช่น จากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต หรือมะเร็งมดลูกไปกดท่อไต
  • เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เช่นไตเป็นหนอง กรวยไตอักเสบ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไต ?

โดยทั่วไปแล้วอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตจะไม่แสดงอาการล่วงหน้าให้เรารู้ โรคไต จึงได้ชื่อว่าเป็นโรคที่น่ากลัว เป็นดั่งเพชรฆาตมืดที่คอยคุกคามชีวิตผู้คนไปนับไม่ถ้วน อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นที่หน่วยกรองไตทีละเล็ก ทีละน้อย ผู้ป่วยจะยังไม่รู้สึกอะไร ต่อเมื่อความเสียหายนั้นมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หรือเสียหายมากๆ อย่างฉับพลันจึงจะแสดงอาการให้เห็น เมื่อถึงตอนนั้นเราก็แก้ไขอะไรไม่ทันเสียแล้ว

เมื่อหน่วยกรองไตเกิดความเสียหาย ต่อให้เราเดินทางไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก็ไม่อาจทำให้สภาพของหน่วยกรองไตกลับฟื้นมาอยู่ในสภาพเดิมได้ เพราะไตไม่ได้มีคุณสมบัติที่สามารถรักษาตัวเองได้เหมือนกับบางอวัยวะในร่างกาย ยกตัวอย่าง ระบบประสาท เมื่อเกิดความเสียหาย ก็ไม่สามารถทำการซ่อมแซมให้กลับมาเป็นปกติได้ ฉะนั้น การป้องกันไม่ให้โรคไตเข้ามาคุกคามเราจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง หากว่าเราสังเกตเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรคไตในระยะเริ่มต้น ตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำ ตลอดจนเดินทางไปพบแพทย์ได้ทันกับที่พบอาการ ก็เท่ากับเราสามารถชะลอความเสียหายของหน่วยกรองไตให้ช้าลงคล้ายกับการติดเบรค
นอกจากนั้นแล้ว พฤติกรรมการใช้ชีวิตก็เป็นสิ่งสำคัญที่อาจทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการอาหารการกิน การใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือแม้แต่การต้องทนอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยแรงกดดัน ฉะนั้น ลองมาดูกันดีกว่าว่า 7 พฤติกรรมแบบไหนที่อาจทำร้าย ไต ของเราได้

1. ทานอาหารรสจัด
ไม่ใช่แค่รสเค็มจัดเท่านั้นที่ทำร้ายไต แต่อาหารรสจัดรวมไปถึง อาหารหวานจัด เผ็ดจัด หรือแม้กระทั่งมันจัด ซึ่งอาหารรสจัดเหล่านี้ทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เป็นโรคไตได้เช่นเดียวกันกับอาหารรสเค็ม

2. ไม่ออกกำลังกาย
การไม่ออกกำลังกายเป็นสาเหตุของหลายๆ โรค ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน ไขมันพอกตับ ไขมันอุดตันเส้นเลือด โรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตัน และอื่นๆ รวมไปถึงโรคไตด้วยเช่นกัน

3. ดื่มน้ำน้อย หรือมากเกินไป
การดื่มน้ำน้อยเป็นสาเหตุของหลายๆ โรคได้เช่นเดียวกัน รวมไปถึงโรคไตด้วย เพราะไตจะทำหน้าที่ฟอกของเสียในร่างกาย และต้องใช้น้ำเป็นตัวพาไปสู่การกรองของไตจนกลายเป็นปัสสาวะ หากดื่มน้ำมากเกินไป ไตก็จะทำงานหนักเกินไป ในขณะเดียวกันหากดื่มน้ำน้อยเกินไป (ซึ่งมีโอกาสมากกว่า) ก็จะทำให้ปัสสาวะมีสีเข้ม ซึ่งไม่ดีต่อไต และกระเพาะปัสสาวะด้วย

4. ทำงานหนักเกินไป
เชื่อหรือไม่ว่าการทำงานหนักก็เป็นสาเหตุของโรคไตด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อร่างกายขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ อวัยวะภายในร่างกายก็จะไม่ได้รับการซ่อมแซมและฟื้นฟูตัวเองอย่างเต็มที่ด้วยเช่นเดียวกัน เมื่ออวัยวะที่คอยฟอกของเสียในร่างกายอย่างไตไม่ได้หยุดทำงาน ก็อาจทำให้ไตเสื่อมสภาพลงได้ง่าย

5. ความเครียด
ความเครียดมักมาพร้อมกับการทำงานหนัก หากเครียดมาก ก็อาจทำให้ร่างกายพักผ่อนได้ไม่เต็มที่เช่นเดียวกัน นอกจากนี้เมื่อเราเครียด เราจะหายใจเอาออกซิเจนเข้าร่างกาย เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ไม่เต็มที่ และไตก็เป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากความเครียดด้วยเช่นกัน

6. ทานอาหารสำเร็จรูป
แม้ว่าคุณอาจจะบอกว่าไม่ใช่คนทานเค็ม แต่หากคุณใช้ชีวิตวนเวียนอยู่กับข้าวกล่องในร้านสะดวกซื้อ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋องต่างๆ หรือแม้กระทั่งน้ำอัดลม โซดา และเครื่องดื่มบางประเภท คุณจะได้รับโซเดียมเข้าไปในร่างกายในปริมาณสูงโดยที่คุณไม่รู้ตัว ดังนั้นควรทานอาหารเหล่านี้ให้น้อยลง

7.ความดันโลหิตสูง
หากใครมีอาการความดันโลหิตสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะเป็นโรคไตตามมาด้วย เพราะหากปล่อยให้เป็นความดันสูงต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่รีบรักษา ภาวะความดันโลหิตสูงจะทำลายเส้นเลือดที่ไต ทำให้ไตถูกทำลาย หรืออาจเรียกว่าเป็น ไตวายชั่วคราว”

รู้อย่างนี้แล้ว ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว ก่อนที่จะเป็นโรตไตแล้วต้องไปฟอกไตทุกวันนะคะ ขอบอกเลยว่าไม่ใช่เรื่องสนุกแน่ๆ

กินหวาน + กินมัน + กินเค็ม + ความดัน เสี่ยงไตพัง

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจกันว่าสาเหตุของการเกิด ‘โรคไต’ นั้นมาจาการกินอาหารที่มีรสเค็มจัดเพียงอย่างเดียว แต่รู้หรือไม่ว่าการกินอาหารที่มีรสหวาน หรืออาหารมัน บวกเข้ากับพฤติกรรมของคนโดยเฉพาะคนเมืองที่ทำงานหนัก มีความเครียด ซ้ำยังไม่ชอบออกกำลังกาย มักกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมาก ทำงานหนัก นอนดึกตื่นเช้า ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงที่เป็นตัวตั้งต้นของโรคไต

ส่วนโรคเบาหวานนั้นมักมาพร้อมกับภาวะความดันโลหิตสูงและโรคอ้วน ซึ่งในช่วงหลังๆ นี้พบบ่อยและมากขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของการพบโรคไตไปโดยปริยาย หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ “โรคเบาหวาน” เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีน้ำตาลในเลือดสูง สะสมไว้โดยไม่มีการควบคุมนานๆ 10 – 20 ปีขึ้นไปก็อาจทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดตีบ หากมีเส้นเลือดตีบในไตก็จะทำให้เป็นไตวายในที่สุด สำหรับภาวะความดันโลหิตสูงหากปล่อยไว้นานๆ  เส้นเลือดภายในไตก็จะถูกทำลาย แต่ก็มีความแตกต่างจาก “อาการไตวายเฉียบพลัน” ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะทำให้เสียเลือดมากจนช็อก พอไม่มีเลือดไปเลี้ยงไต ไตก็จะหยุดทำงาน เรียกว่า ‘ไตวายชั่วคราว’ ถ้าได้รับการรักษาภายใน 1 – 2 สัปดาห์ ก็ยังมีโอกาสที่ไตจะสามารถฟื้นตัวกลับมาทำงานได้ตามปกติ

‘โรคไต’ รักษาได้อย่างไร ?

ในทางการแแพทย์มีแนวทางการรักษาโรคไตด้วย 4 วิธีหลักๆ ด้วยกัน ดังนี้…

  1. การตรวจและการวินิจฉัยโรคไตที่เหมาะสม
    เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างถูกต้องและรวดเร็ว แพทย์จะต้องมีความชำนาญในการตรวจและวินิจัยผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตให้ถูกต้องตั้งแต่ระยะต้นๆ จึงจะมีโอกาสที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีกว่า แต่หากยังไม่แน่ใจว่าเป็นโรคนี้ เพียงแต่มีความสงสัย แนะนำว่าให้เดินทางมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและวินิจฉัยอยู่เป็นประจำ
  2. การรักษาโดยมองจากสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคไต
    เมื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคได้แล้ว แพทย์อาจจะเริ่มรักษานิ่วในไต , การควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง, การหยุดยาที่เป็นพิษต่อไต ซึ่งการทำเช่นนี้ผู้ป่วยจะต้องให้ความร่วมมือกับแพทย์ผู้รักษาอย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับการให้ยาที่เหมาะสมกับโรคเนื้อไตอักเสบแต่ละชนิด จึงจะทำให้การรักษาได้ผลดีที่สุด
  3. การรักษาช่วยชะลอความเสื่อมของไต
    ถึงแม้ว่าแพทย์จะทำการรักษาโดยมองจากสาเหตุของการเกิดโรคไตเป็นสำคัญแล้ว แต่ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ หรือในผู้ป่วยบางราย ที่ไตมีการทำงานเสื่อมลงมากกว่าปกติ เนื่องจากเนื้อไตบางส่วนอาจถูกทำลาย เนื้อไตส่วนดีที่เหลืออยู่จึงต้องทำงานหนักกว่าปกติ จึงเป็นเหตุให้ไตเสื่อมได้ง่ายมากขึ้นตามระยะเวลาและอาจเกิดไตวายในที่สุด ฉะนั้น แพทย์อาจแนะนำให้ควบคุมอาหารให้เหมาะสมกับการทำงานของไตที่เหลืออยู่ , การใช้ยาเพื่อช่วยปรับสารต่างๆ ที่เป็นพิษต่อไต , การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้น เพื่อชะลอการเสื่อมของไต

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก THAIJAM, ชีวจิต

7 พฤติกรรมทำร้าย “ไต” ทั้งที่ไม่ได้กินเค็ม!